วันเสาร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

สืบค้นเว็บที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่กำลังศึกษา

ชนิดของคลื่น



คลื่นเป็นปรากฎการณ์ที่เกี่ยวกับการเคลื่อนที่รูปแบบหนึ่ง คลื่นสามารถจำแนกตามลักษณะต่าง ๆได้ดังนี้


1. จำแนกตามลักษณะการอาศัยตัวกลาง

1.1 คลื่นกล (Mechanical wave) เป็นคลื่นที่เคลื่อนที่โดยอาศัยตัวกลางซึ่งอาจเป็นของแข็ง ของเหลว หรือก๊าซก็ได้ ตัวอย่างของคลื่นกลได้แก่ คลื่นเสียง คลื่นที่ผิวน้ำ คลื่นในเส้นเชือก เป็นต้น

1.2 คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic waves) เป็นคลื่นที่เคลื่อนที่โดยไม่อาศัยตัวกลาง สามารถเคลื่อนที่ในสุญญากาศได้ เช่น คลื่นแสง คลื่นวิทยุและโทรทัศน์ คลื่นไมโครเวฟ รังสีเอกซ์ รังสีแกมมา เป็นต้น

2. จำแนกตามลักษณะการเคลื่อนที่
 2.1 คลื่นตามขวาง (Transverse wave) เป็นคลื่นที่อนุภาคของตัวกลางเคลื่อนที่ในทิศตั้งฉากกับทิศการเคลื่อนที่ของคลื่น ตัวอย่างของคลื่นตามขวางได้แก่ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
 2.2 คลื่นตามยาว (Longitudinal wave) เป็นคลื่นที่อนุภาคของตัวกลางเคลื่อนที่ไปมาในแนวเดียวกับทิศการเคลื่อนที่ของคลื่น ตัวอย่างของคลื่นตามยาวได้แก่ คลื่นเสียง

3. จำแนกตามลักษณะการเกิดคลื่น
 3.1 คลื่นดล (Pulse wave) เป็นคลื่นที่เกิดจากแหล่งกำเนิดถูกรบกวนเพียงครั้งเดียว

3.2 คลื่นต่อเนื่อง (Continuous wave) เป็นคลื่นที่เกิดจากแหล่งกำเนิดถูกรบกวนเป็นจังหวะต่อเนื่อง

ส่วนประกอบของคลื่น

สันคลื่น (Crest) เป็นตำแหน่งสูงสุดของคลื่น หรือเป็นตำแหน่งที่มีการกระจัดสูงสุดในทางบวก
 ท้องคลื่น (Crest) เป็นตำแหน่งต่ำสุดของคลื่น หรือเป็นตำแหน่งที่มีการกระจัดสูงสุดในทางลบ

แอมพลิจูด (Amplitude) เป็นระยะการกระจัดมากสุด ทั้งค่าบวกและค่าลบ

ความยาวคลื่น (wavelength) เป็นความยาวของคลื่นหนึ่งลูกมีค่าเท่ากับระยะระหว่างสันคลื่นหรือท้องคลื่นที่อยู่ถัดกัน ความยาวคลื่นแทนด้วยสัญลักษณ์ มีหน่วยเป็นเมตร (m)

ความถี่ (frequency) หมายถึง จำนวนลูกคลื่นที่เคลื่อนที่ผ่านตำแหน่งใด ๆ ในหนึ่งหน่วยเวลา แทนด้วยสัญลักษณ์ มีหน่วยเป็นรอบต่อวินาที (s-1) หรือ เฮิรตซ์ (Hz)

คาบ (period) หมายถึง ช่วงเวลาที่คลื่นเคลื่อนที่ผ่านตำแหน่งใด ๆ ครบหนึ่งลูกคลื่น แทนด้วยสัญลักษณ์ มีหน่วยเป็นวินาทีต่อรอบ (s)

อัตราเร็วของคลื่น (wave speed) หาได้จากผลคูณระหว่างความยาวคลื่นและความถี่

สมบัติของคลื่น (wave properties)


คลื่นทุกชนิดแสดงสมบัติ 4 อย่าง คือการสะท้อน การหักเห การแทรกสอด และการเลี้ยวเบน
 การสะท้อน (reflection) เกิดจากคลื่นเคลื่อนที่ไปกระทบสิ่งกีดขวาง แล้วเปลี่ยนทิศทางกลับสู่ตัวกลางเดิม

การหักเห (refraction) เกิดจากคลื่นเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางที่ต่างกัน แล้วทำให้อัตราเร็วเปลี่ยนไป

การเลี้ยวเบน (diffraction) เกิดจากคลื่นเคลื่อนที่ไปพบสิ่งกีดขวาง ทำให้คลื่นส่วนหนึ่งอ้อมบริเวณของสิ่งกีดขวางแผ่ไปทางด้านหลังของสิ่งกีดขวางนั้น

การแทรกสอด (interference) เกิดจากคลื่นสองขบวนที่เหมือนกันทุกประการเคลื่อนที่มาพบกัน แล้วเกิดการซ้อนทับกัน ถ้าเป็นคลื่นแสงจะเห็นแถบมืดและแถบสว่างสลับกัน ส่วนคลื่นเสียงจะได้ยินเสียงดังเสียงค่อยสลับกัน


ที่มา : http://www.bkw.ac.th/content/snet3/saowalak/wave/wave.htm

วันศุกร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ข้อสอบ O-NET ปี 52








ตอบ 3



อธิบาย การสะท้อนของคลื่น Reflectionเมื่อคลื่นเคลี่ยนที่ไปชนกับสิ่งกีดขวาง หรือเคลื่อนที่ไปยังปลายสุดของตัวกลาง หรือระหว่างรอยต่อของตัวกลาง คลื่นส่วนหนึ่งจะเคลื่อนที่กลับมาในตัวกลางเดิม เรียกว่า การสะท้อนของคลื่น และคลื่นที่สะท้อนกลับมา เรียกว่า คลื่นสะท้อน ส่วนคลื่นที่ไปกระทบปลายสุดของตัวกลางก่อนเกิดการสะท้อนเรียกว่า คลื่นตกกระทบการหักเหของคลื่น(Refraction)เมื่อให้คลื่นเคลื่อนที่จากตัวกลาหนึ่งไปสู่อีกตัวกลางหนึ่ง เช่น คลื่นน้ำลึกเคลื่อนที่จากน้ำลึกเข้าสู่บริเวณน้ำตื้น จะทำให้ความยาวคลื่นของคลื่นน้ำจะเปลี่ยนแปลงไปด้วย การที่คลื่นน้ำเคลื่อนที่จากตัวกลางหนึ่งไปสู่อีกตัวกลางหนึ่งแล้วทำให้อัตรา เร็วและความยาวคลื่นเปลี่ยนไปแต่ความถี่คงที่ เรียกว่า "การหักเหของคลื่น" และคลื่นที่เคลื่อนที่ผ่านรอยต่อ ระหว่างตัวกลางไปเรียกว่า "คลื่นหักเห"ในการหักเหของคลื่นจากตัวกลางหนึ่งไปสู่อีกตัวกลางหนึ่ง จะทำให้ความเร็ว และความยาวคลื่นเปลี่ยนไป แต่ทิศทางการเคลื่อนที่ของคลื่นอาจจะไม่เปลี่ยน หรือเปลี่ยนไปจากแนวเดิมก็ได้การแทรกสอดของคลื่น(Interference)เมื่อมีคลื่นต่อเนื่องจากแหล่งกำเนิดคลื่นสองแหล่งที่มีความถี่เท่ากันและเฟสตรงกันเคลื่อนที่มาพบกัน จะเกิดการซ้อนทับระหว่างคลื่นต่อเนื่องสองขบวนนั้น ปรากฎการณ์เช่นนี้เรียกว่า การแทรกสอดของคลื่น (Interference)1.การแทรกสอดแบบเสริมกัน เกิดจากสันคลื่นของคลื่นทั้งสองมารวมกัน คลื่นลัพธ์ที่เกิดขึ้น จะมีวันคลื่นสูงกว่าเดิม และมีท้องคลื่นลึกกว่าเดิม และจะเรียกตำแหน่งนั้นว่า ปฏิบัพ(Antinode)2.การแทรกสอดแบบหักล้าง เกิดจากสันคลื่นจากแหล่งกำเนิดหนึ่งมารวมกับท้องคลื่นของ อีกแหล่งกำเนิดหนึ่ง คลื่นลัพธ์ที่เกิดขึ้นจะมีสันคลื่นต่ำกว่าเดิม และท้องคลื่นตื้นกว่าเดิม และเรียกตำแหน่งนั้นว่า บัพ(Node)การเลี้ยวเบนของคลื่น เมื่อมีสิ่งกีดขวางมากั้นการเคลื่อนที่ของคลื่น คลื่นจะเกิดการสะท้อน แต่ถ้าสิ่งกีดขวางนั้นกั้นการเคลื่อนที่ ของคลื่นเพียงบางส่วน จะพบว่ามีคลื่นส่วนหนึ่งแผ่จากขอบสิ่งกีดขวางไปทางด้านหลังของสิ่งกีดขวางนั้น การที่มีคลื่นปรากฎอยู่ทางด้านหลังของแผ่นกั้นคลื่นในบริเวณนอกทิศทางเดิมของคลื่นเช่นนี้เรียกว่า การเลี้ยวเบนของคลื่น












ตอบ 4



อธิบาย ความยาวคลื่น คือระยะทางระหว่างส่วนที่ซ้ำกันของคลื่น สัญลักษณ์แทนความยาวคลื่นที่ใช้กันทั่วไปคือ อักษรกรีก แลมบ์ดา (λ). สำหรับคลื่นรูปไซน์ ความยาวคลื่นมีค่าเท่ากับระยะห่างระหว่างยอดคลื่นแกนนอนในแผนภูมิแทนระยะทาง และแกนตั้งแทนค่า ณ เวลาหนึ่ง ของปริมาณหนึ่งซึ่งกำลังเปลี่ยนแปลง (ตัวอย่างเช่น สำหรับคลื่นเสียง ปริมาณที่กำลังเปลี่ยนแปลงก็คือแรงดันอากาศ หรือสำหรับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ปริมาณที่กำลังเปลี่ยนแปลงก็คือสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็ก) ซึ่งเป็นฟังก์ชันของระยะทาง ความยาวคลื่น λ สัมพันธ์แบบผกผันกับความถี่ของคลื่นนั้น โดยความยาวคลื่นมีค่าเท่ากับความเร็วของคลื่นนั้นๆ หารด้วยความถี่ ถ้าเราพิจารณาคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในสุญญากาศ ความเร็วนั้นก็คือความเร็วแสงนั่นเองความถี่ คือปริมาณที่บ่งบอกจำนวนครั้งที่เหตุการณ์เกิดขึ้นในเวลาหนึ่ง การวัดความถี่สามารถทำได้โดยกำหนดช่วงเวลาคงที่ค่าหนึ่ง นับจำนวนครั้งที่เหตุการณ์เกิดขึ้น นำจำนวนครั้งหารด้วยระยะเวลา และ คาบ เป็นส่วนกลับของความถี่ หมายถึงเวลาที่ใช้ไปในการเคลื่อนที่ครบหนึ่งรอบในระบบหน่วย SI หน่วยวัดความถี่คือเฮิรตซ์ (hertz) ซึ่งมาจากชื่อของนักฟิสิกส์ชาวเยอรมันชื่อ Heinrich Rudolf Hertz เหตุการณ์ที่มีความถี่หนึ่งเฮิรตซ์หมายถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหนึ่งครั้งทุกหนึ่งวินาที หน่วยอื่นๆ ที่นิยมใช้กับความถี่ได้แก่: รอบต่อวินาที หรือ รอบต่อนาที (rpm) (revolutions per minute) อัตราการเต้นของหัวใจใช้หน่วยวัดเป็นจำนวนครั้งต่อนาทีอีกหนึ่งวิธีที่ใช้วัดความถี่ของเหตุการณ์คือ การวัดระยะเวลาระหว่างการเกิดขึ้นแต่ละครั้ง (คาบ) ของเหตุการณ์นั้นๆ และคำนวณความถี่จากส่วนกลับของคาบเวลา









ตอบ 3
อธิบาย การหักเหของแสง (Refraction) เกิดจากการที่แสงเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางที่มีความหนาแน่นต่างกัน เป็นผลทำให้ทิศทางของแสงเปลี่ยนแปลงไปด้วย ซึ่งในขณะที่แสงเกิดการหักเหก็จะเกิดการสะท้อนของแสงขึ้นพร้อมๆ กันด้วย
การสะท้อน (อังกฤษ: reflection) ต้องมีรูปต้นแบบที่ต้องการสะท้อนและเส้นสะท้อน (reflection line หรือ Mirror line) การสะท้อนรูปข้ามเส้นสะท้อนเสมือนกับการพลิกรูปข้ามเส้นสะท้อนหรือการดูเงา สะท้อนบนกระจกเงาที่วางบนเส้นสะท้อน การสะท้อนเป็นการแปลงที่มีการจับคู่กันระหว่างจุดแต่ละจุดบนรูปต้นแบบกับจุดแต่ละจุดบนรูปสะท้อน
การสั่นพ้อง (Resonance) เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อระบบถูกทำให้สั่น ด้วยความถี่ที่เท่ากับความถี่ธรรมชาติ (Natural Frequency) ของระบบนั้นๆ แล้ว ระบบนั้นจะสั่นอย่างรุนแรง หรือ มีช่วงการสั่นกว้างมากที่สุด เช่น โพรงอากาศในท่อปลายปิด จะมีความถี่ธรรมชาติค่าหนึ่ง ดังนั้นเมื่อเราเคาะส้อมเสียงที่มีความถี่เท่ากับความถี่ของโพรงอากาศ อากาศก็จะสั่นอย่างรุนแรง (เสียงดังมากที่สุด) เกิดเป็นคลื่นนิ่ง (Standing Waves)

ปรากฏการณ์ดอปเพลอร์ (อังกฤษ:Doppler Effect) หรือบางครั้งเรียกว่า การเคลื่อนดอปเพลอร์ (อังกฤษ: Doppler shift) เป็นปรากฏการณ์ทางวิทยาศาสตร์อย่างหนึ่งที่ตั้งชื่อตามคริสเตียน ดอปเพลอร์ เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงความถี่ของคลื่นและความยาวคลื่นในมุมมองของผู้สังเกตเมื่อมีการเคลื่อนที่ที่สัมพันธ์กับแหล่งกำเนิดคลื่นนั้น พบเห็นได้ทั่วไปในชีวิตประจำวันเช่น เมื่อมีรถพยาบาลส่งสัญญาณไซเรนเคลื่อนเข้าใกล้ ผ่านตัวเรา และวิ่งห่างออกไป คลื่นเสียงที่เราได้ยินจะมีความถี่สูงขึ้น (กว่าคลื่นที่ส่งออกมาตามปกติ) ขณะที่รถเคลื่อนเข้ามาหา คลื่นเสียงมีลักษณะปกติขณะที่รถผ่านตัว และจะมีความถี่ลดลงเมื่อรถวิ่งห่างออกไป
ที่มา : -www.rmutphysics.com/physics/oldfront/62/.../ligh_6.htm


ตอบ 2

อธิบาย สมบัติของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
1.ไม่ต้องใช้ตัวกลางในการเคลื่อนที่
2.อัตราเร็วของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าทุกชนิดในสุญญากาศเท่ากับ 299,792,458 m/s ซึ่งเท่ากับ อัตราเร็วของแสง

3.เป็นคลื่นตามขวาง
4.ถ่ายเทพลังงานจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง
5.ถูกปล่อยออกมาและถูกดูดกลืนได้โดยสสาร
6.ไม่มีประจุไฟฟ้า
7.คลื่นสามารถแทรกสอด สะท้อน หักเห และเลี้ยวเบนได้

ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า


ตอบ 4


อธิบาย จุดดับบนดวงอาทิตย์
การมีกลุ่มจุดเกิดขึ้นที่พื้นผิวของดวงอาทิตย์ซึ่งเรียกว่า จุดดับ(Sun Spot) จุดเหล่านี้เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็จะมีการเปลี่ยนแปลงและในที่สุดก็จะสลายตัวจนหมด ขณะเดี่ยวกันก็จะมีกลุ่มจุดใหม่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตามจุดดับบนดวงอาทิตย์มีอายุอยู่นานพอที่จะใช้เป็นเครื่องติดตามสังเกตุดูว่าดวงอาทิตยย์มีการหมุนรอบตัวเองเช่นเดียวกันกับที่โลกหมุนรอบตัวเอง และเมื่อติดตามจุดดับที่เกิดบนดวงอาทิตย์ก็สามารถที่จะคำนวนีรอบการหมุนของดวงอาทิตย์ได้ ซึ่งจากการคำนวณพบว่าดวงอาทิตย์หมุนรอบตัวเองใช้เวลาประมาณ 1 เดือน (เวลาบนโลก) และทิศทางการหมุนของดวงอาทิตย์ก็มีทิศเดียวกับการหมุนรอบตัวเองของดาวเคราะห์กล่าวคือมีการหมุนรอบตัวเองทวนเข็มนาฬิกา และเป็นไปตามทิศทางที่ดาวเคราะห์โคจรรอบดวงอาทิตย์
แสงเหนือ - แสงใต้ เป็นปรากฏการณ์ที่ปรากฏเป็นแนวแสงสว่างสีต่างๆ บนท้องฟ้ายามค่ำคืน รูปร่างคล้ายกับม่าน และมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างอย่างรวดเร็ว แสงเหนือ - แสงใต้ มักเกิดขึ้นในบริเวณที่ละติจูดสูง เช่น บริเวณใกล้ขั้วโลกเหนือ ที่เรียกว่า แสงเหนือ (aurora borealis) และบริเวณใกล้ขั้วโลกใต้ ที่เรียกว่า แสงใต้ (aurora australis) และอยู่ในระดับความสูงตั้งแต่ 80 - 1,000 กิโลเมตร เหนือพื้นดิน
แสงเหนือ - แสงใต้ เกิดจากอนุภาคในอวกาศที่มีประจุผ่านเข้ามาในชั้นบรรยากาศของโลก แล้วทำให้ก๊าซที่อยู่ในชั้นบรรยากาศเกิดการแตกตัวและปลดปล่อยพลังงานในรูปของแสง ซึ่งจะให้แสงสีที่มีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับชนิดของก๊าซที่เกิดการแตกตัว โดยที่ออกซิเจนจะให้แสงสีเขียวหรือสีแดง ไนโตรเจนให้สีน้ำเงินหรือสีแดง ฮีเลียมให้สีฟ้าและสีชมพู ดังนั้นแสงสีต่างๆ ที่มองเห็นได้ จึงเกิดจากสีเหล่านี้หรือเกิดการผสมจนเป็นสีที่แปลกไป
น้ำขึ้น-น้ำลง แรงดึงดูดนี้เป็นแรงดึงดูดที่เกิดจากแรงดึงดูดระหว่ามวล ขนาดของแรงแปรผกผันกับระยะห่างระหว่างมวลยกกำลังสอง ดังนั้นแรงที่กระทำกับโลกบริเวณที่ใกล้กับดวงจันทร์มากที่สุด จะเกิดแรงมากที่สุดด้วย น้ำในมหาสมุทรจึงถูกดูดเข้ามาในบริเวณนี้มากกว่าบริเวณอื่น ส่วนน้ำด้านข้างของโลกทั้งสองจะลีบลง ส่วนด้านตรงกันข้ามมีแรงกระทำเหมือนกัน แต่ว่าน้อยกว่าด้านที่ติดกับดวงจันทร์ มันจึงดูดน้ำจำนวนมหาศาลให้ติดกับผิวโลก แต่ไม่สามารถเลื่อนมาทางด้านหน้าได้ จึงเกิดการนูนขึ้นอีกด้านหนึ่ง ซึ่งเป็นด้านตรงกันข้าม แต่ว่าการนูนน้อยกว่า ด้านใกล้

การเกิดกลางวันกลางคืน เกิดจากการเคลื่อนที่ของดวงดาวในระบบแกแลคซี่ดวงอาทิตย์ส่องแสงตกกระทบโลกแต่เพียงซีกเดียวเสมอ เมื่อโลกหมุนไปแต่ละส่วนบนผิวโลกได้รับแสงสว่างในเวลากลางวันและมืดในเวลากลางคืนสลับกันไป โลกหมุนในทิศทางทวนเข็มนาฬิกาเมื่อมองจากที่สูงเหนือขั้วโลกเหนือการหมุนของโลกทำให้ดวงอาทิตย์ ขึ้นทางทิศตะวันออกเราอาจแสดงให้เห็นการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ประจำวันจากตะวันออกไปตะวันตก ได้จากการสังเกตการเคลื่อนที่ของเงาของแท่งไม้ที่ปักไว้ในแนวดิ่งบนพื้นดินในที่สุดดวงอาทิตย์จะตกทาง ทิศตะวันตก และกลางคืนก็จะตามมา การที่โลกหมุนรอบตัวเองในทิศทวนเข็มนาฬิกา (หรือจากทิศตะวันตกไปทิศตะวันออก) จึงทำให้เห็นดวงอาทิตย์เคลื่อนที่ในทิศตามเข็มนาฬิกา ทิศที่เห็นดวงอาทิตย์ขึ้น กำหนดให้เป็นทิศตะวันออก ส่วนทิศที่เห็นดวงอาทิตย์ตกกลับไป เรียกว่าทิศตะวันตก จึงกล่าวได้ว่า การกำหนดให้ทิศจ่าง ๆ เกิดขึ้นเพราะโลกหมุนรอบตัวเองนั่นเอง

ที่มา  : www.thaispaceweather.com/glossary.html